ผ้าเบรค สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

เกริ่นหัวเรื่องมาแรงแต่ที่จริงอยากมาบอกรายละเอียดเกี่ยวผ้าเบรค ที่ต้องรู้ไว้สักนิดครับ

หลายคนเคยสงสัยว่าทำไมราคาผ้าเบรคถึงแตกต่างกันเยอะมากยกตัวอย่าง ผ้าเบรครถสูตร
ของแท้เบิกราคาในญี่ปุ่นราคาเข้าไปที่ เกือบสองพันบาท แต่ถ้ามาเป็นผ้าเบรคในท้องตลาด
ที่นำเข้าราคาอยู่ประมาณ 600-700 บาท แต่ผ้าเบรคที่ทำในบ้านเราราคาค่าตัวอยู่ไม่เกิน 50 บาท
ทำไมมันแตกต่างกันมากนัก

มาเริ่มต้นกันจากการที่จะทำให้รถหยุดนั้นต้องมีความฝืดที่สัมผัสจากผ้าเบรคกับจานเบรค ผลก็
ทำให้เกิดการสึกหรอที่ผ้าเบรคและความร้อนที่เกิดขึ้นครับ
ดังนั้นสิ่งที่ถูกนำมาทำเป็นผ้าเบรคต้องเป็นวัสดุที่สามารถทนความร้อน การสึกหรอ ป้องกัน
ความชื้นและมีค่าค่าฝืดสูง(ค่าสัมประสิทธิ์)ในปัจจุปันสามารถแยกผ้าเบรคออกเป็น 2 ประเภท

ชนิดที่ 1ผ้าเบรคหล่อ(Molded liing) ทำจากสาร ประเภทอินทรีย์(organic lining) ทำจาก
สารประเภทเอสเบทตอสผสมกับฟิลเลอร์และผงเรซิ่นคุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปผ่านกระบวน
การผลิตโดยใช้ความร้อนและดันจนกระทั่งแข็งแล้วนำมายึดกับผ้าเบรคด้วยกาวหรือที่เรียก
กันว่า ผ้าเบรคหล่อ ซึ่งรวมถึงผ้าเบรคที่หมดแล้วเอาไปอัดใหม่ที่พวกเราเรียกว่าอัดผ้าเบรค

ชนิดที่ 2 ผ้าเบรคที่ทำจากโลหะ(Metallic Lining)ทำจากโลหะผสมประเภททองแดงกับ
สังกะสีผสมกับฟิลเลอร์และเอสเบสตอส กราไฟต์หรือผงเหล็กเรซิ่น โดยผ้าเบรคชนิดนี้
จะมีค่าความฝืดอยู่ประมาณ 0.3-0.5แต่ถ้าต้องการใช้งานหนักมากก็จะทำด้วยโลหะชินเตอร์
(Sintered)ที่มีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนได้สูงทำให้มีอายุที่ยาวนานมากขึ้นครับ

ส่วนการยึดผ้าเบรคกับฝักเบรคมีสองวิธีด้วยกันครับคือการยึดด้วยกาวและยึดด้วยรีเว็ต
ซึ่งวิธีที่นิยมอย่างมากคือการยึดด้วยกาวเพราะกาวสามารถยึดผ้าเบรคได้บางกว่ารีเว็ตมาก
วิธีการผลิตก็คือ แต่ละบริษัทที่ได้เตรียมสูตรของตนเองไว้ก็นำเคมีต่างๆมาผสมกัน ขณะ
เดียวกันก็เตรียมแผ่นเหล็กที่จะนำมาเป็นเหล็กที่เตรียมไว้ไปพ่นกาวแล้วอบให้แห้งเพื่อรอ
กระบวนการขึ้นรูปมีสองวิธีอีกเหมือนกันคือการขึ้นรูปเย็น(Press Forming) โดยการเทผง
ผ้าเบรคลงบนแม่พิมพ์แล้ววางเหล็กรองไว้ด้านบนแล้วอัดด้วยเครื่องไฮรโดริค แรงกด
ประมาณ 160 ตัน แล้วนำชิ้นงานที่ได้เข้าเตาอบ ส่วนใหญ่ผ้าเบรคประเภทนี่จะเข้าสู่ตลาด
After market หรือร้านอาหลั่ยทั่วไปครับอีกวิธีประเภทขึ้นรูปร้อนจะคล้ายๆกันครับ
ใช้ความร้อนในการเทผงผ้าเบรคและมีการไล่ความชื้นเข้าไปด้วยครับ เมื่อเสร็จแล้ว
ผ้าเบรคประเภทนี้จะเป็นผ้าเบรคที่ติดตั้งมาจากโรงงานครับ

แล้วในแต่ละยี่ห้อก็จะมีสูตรของตัวเองที่โฆษณาว่าจะใช้กับรถอะไรเช่น รถสเเตนดาร์ด
รถโมโตครอส รถฉข่งทางเรียบ แต่ละชนิดก็จะมีการทนความร้อนสูงต่างกันไปครับ

ที่เล่ามาอยากให้เน้นกันหน่อยครับโดยเฉพาะพวกเราเน้นทำรถแรงแต่ลืมที่จะคิดว่า
หยุดอย่างไร ต่อให้ใส่ปั๊มเบรคยี่ห้อดังๆ ผ้าเบรคไม่ดีก็เท่านี้นครับ

แนะอีกนิดหนึ่งครับ ว่าตอนซื้อผ้าเบรคควรอ่านรายละเอียดว่าทำมาจากวัสดุประเภทไหนเหมาะกับ
ประเภทการใช้งานของเราหรือไม่

ที่มา http://fordoff.exteen.com/20061213/entry-7

0 ความคิดเห็น: